กลุ่มประสานงานเพื่อการเตือนภัย (เขากะลา)

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ธรรมชาติมีเพียงหนึ่งเดียว

อวิชชา คือความไม่รู้จริงตามธรรมชาติ ไม่รู้จริงในกฏสัจจะธรรม คือรู้ผิดจากกฏของธรรมชาติ มีความเห็นแตกต่างไปจากความเป็นจริงของธรรมชาติ แต่ไม่ได้หมายความว่ารู้ในสิ่งที่ไม่ดี ในสิ่งที่ชั่วหรือเลว

วิชชา คือความเห็นที่ถูกตรง รู้ตามความเป็นจริงของกฏธรรมชาติ ที่ไม่ได้เป็นตัวใครของใคร มันเป็นของมันเช่นนั้นเอง แต่ไม่ได้หมายความว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ถูก หรือสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดี

เพราะธรรมชาติมีเพียงหนึ่ง เดียว ไม่มีผิด ไม่มีถูก ไม่มีดี ไม่มีชั่ว

ธรรมชาติ เป็นของธรรมชาติอยู่อย่างนั้นไม่เคยเปลี่ยนแปลง

ไม่ ว่าใครจะไปอุปาทานอย่างไร ว่านั่นดี นั่นไม่ดี นั่นผิด นั่นไม่ผิด ธรรมชาติก็ยังคงเป็นอย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลงไปตามความคิด ความต้องการของใคร

ถ้ายังคิดว่ามีสิ่งใดผิด สิ่งใดถูก สิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว นั่นหมายความว่า

บุคคล นั้น ได้หลงยึดในอวิชชาไปก่อนหน้านั้นแล้ว จึงเกิดมีตัวเราขึ้นมา คือมีอุปาทานว่าขันธ์ห้านี้ เป็นตัวตน จึงรู้ว่ามีตัวเรา มีตัวเขา จึงได้แบ่งว่าเขาดี เขาไม่ดี เราดี เราไม่ดี เราถูก เขาผิด เขาชั่ว เราดี หรือว่า สิ่งนั้นไม่ถูก สิ่งนี้ไม่ดี

ซึ่งโดยความจริงแล้ว ธรรมชาติไม่เคยแบ่งแยกอะไร มีแต่อุปาทานของผู้ที่หลงยึดเท่านั้น ที่เป็นผู้แบ่งแยก

คนกลุ่มหนึ่งเห็นคนนี้ว่า....ดี
คนกลุ่มหนึ่งเห็นคน นี้ว่า....เลว

ทุ่มเถียงกันไป ด่าทอกันไป แบ่งกลุ่ม แบ่งพรรค แบ่งพวก ก็ด้วยความเห็นที่แตกต่างกัน

แล้วทำไมทุกคนจึงไม่เห็นเหมือนกันว่า.....คน นี้....ดี
แล้วทำไมทุกคนจึงไม่เห็นเหมือนกันว่า.....คนนี้....เลว

ทำไมต้องมีการเห็นที่แตกต่าง ฉันว่าคนนี้ดี แต่อีกคนว่าเลว

บรรทัดฐานอยู่ตรงไหน ที่ว่าดี ว่าเลว
เหตุผล ข้อหักล้าง หรือความถูกใจ

ธรรมชาติไม่เคยแบ่งแยก .... แต่อวิชชา คือความไม่รู้จริงตามธรรมชาติต่างหาก ... ที่เป็นตัวแบ่งแยก

นั่น คือ มีความเห็นผิดตั้งแต่ต้น คือเห็นไม่ตรงตามความเป็นจริงของธรรมชาติ จึงเห็นว่าขันธ์ห้านี้เป็นตัวตน เป็นของตน จึงได้เกิดมีเรา มีเขาขึ้น ด้วยอุปาทานหลงยึดว่าขันธ์ห้าของธรรมชาตินั้นเป็นตัวเรา

นี่คือ อวิชชา คือความเห็นผิดจากธรรมชาติ เห็นดินน้ำลมไฟของธรรมชาติ ที่มารวมกันตามเหตุปัจจัยที่ส่งมา แล้วอุปาทานว่า นี่เป็นตัวเรา นั่นเป็นของเรา

เมื่อใดที่เห็นว่า ธรรมชาติแบ่งแยกเป็นสองสิ่ง นั่นคือความไม่เข้าใจในความเป็นธรรมชาติ เพราะธรรมชาติเป็นอย่างนั้นเอง เป็นอย่างเดียวที่ไม่มีการแบ่งแยก ว่าดี หรือไม่ดี ธรรมชาติก็เป็นอย่างที่เป็นนั่นแหละ มันเป็นอย่างนั้นเอง

ผู้ที่มีอวิชชา ไปอุปาทานต่างหาก ว่าเป็นนั่น เป็นนี่ ว่าดี ว่าชั่ว ว่าถูก ว่าผิด

การ ที่ยังต้องวนเวียนอยู่ในโลก สมมุติ ก็ย่อมจะแบ่งแยกว่าเป็นนั่น เป็นนี่ ก็แบ่งโดยสมมุติ โดยผู้ที่ยังมีอวิชชา มีความเห็นว่ามีตัวตน จึงยังต้องสมมุติกันอยู่ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันว่า เล็ก ใหญ่ กว้าง แคบ ยาว สั้น สูง ต่ำ ดำ ขาว ถูก ผิด ดี ชั่ว

หากอยู่เหนือสมมุติ ทุกอย่างก็ไม่มีจริง เป็นธรรมชาติ ไม่มีตัวตน ไม่มีของตน ไม่มีการเปรียบเทียบ แบ่งแยกใด ๆ ทั้งสิ้น

นั่น คือมีความรู้ที่ถูกตรงกับกฏธรรมชาติ คือมี วิชชา คือความรู้จริงตามธรรมชาติ ที่ไม่ได้เป็นตัวตน นั่นเอง

การเรียนรู้ การทำความเข้าใจในธรรมะ หรือกฏธรรมชาติ ไม่ได้เป็นเรื่องยากมากมาย
หาก เห็นได้ รู้จริงได้ ก็ปล่อยวางได้ง่าย ๆ เช่นกัน

ดัง นั้น การเข้าใจในธรรมะ เพื่อการละวางอัตตา ละการยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ห้า ในอวิชชาทั้งหลาย ที่เป็นต้นเหตุให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด สร้างภพสร้างชาติไม่จบสิ้นนั้น

จะว่าเป็นเรื่องยาก....ก็ยาก
จะว่าเป็นเรื่อง ง่าย....ก็ง่าย

ความง่าย ก็คือทำความเข้าใจได้ไม่ยาก หากเข้าใจจริง เห็นจริงตามนั้น ปฏิบัติตาม ละวางอุปาทานขันธ์ห้าได้
ก็จะเห็นผลของ การปล่อยวาง คือจางคลายจากทุกข์ได้นั่นเอง

ความยาก ยากตรงไหน

ยากตรงที่ จะเชื่อได้อย่างไร ว่าธรรมะ ว่ากฏของธรรมชาติ จะเข้าใจได้ง่ายถึงเพียงนี้

นี่คือความยาก ..... คือยากที่จะเชื่อกับเรื่องง่าย ๆ

จึงหันหลังให้ แล้วไปเสาะแสวงหาคำตอบ หารูปแบบที่ยาก ๆ รูปแบบที่ต้องการต่อไป

นี่คือความยาก คือยากที่จะเชื่อได้นั่นเอง

ผู้ที่เข้าใจได้ ผู้ที่มารวมกันได้ ก็คือผู้ที่ต้องใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองอย่างยิ่งยวดในอันดับแรก

คือ การให้โอกาสตนเอง ได้ลองศึกษา ได้ลองพิจารณา แล้วใช้ปัญญาไตร่ตรอง

ว่า ผิดแผกแตกต่างไปจากธรรมะที่เคยได้ยินได้ฟังมาหรือไม่
แล้วใช้ขันธ์ห้า นี้ ทดสอบ ทดลอง ว่าจะเห็นผลอย่างที่ได้กล่าวไว้หรือไม่
เมื่อเบาบาง จางคลายได้จริง จึงค่อยเชื่อ จึงค่อยมาปฏิบัติในส่วนอื่น ๆ ต่อไป
ซึ่ง นั่นก็คือให้โอกาสตนเอง

ดังนั้นการใช้ปัญญา การพิจารณาไตร่ตรอง จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง...

เพราะ การปฏิบัติธรรมของกลุ่มประสานงานเพื่อการ เตือนภัย(เขากะลา) เน้นการวิปัสสนาเป็นหลัก คือการเห็นจริงตามธรรมชาติ โดยการใช้ปัญญาตัดอุปาทานในขันธ์ห้านั่นเอง.

จึงไม่มี รูปแบบให้ยึดติด ให้ต้องทำอย่างนั้น อย่างนี้ ต้องปฏิบัติเช่นนั้น เช่นนี้ ต้องอยู่ในกรอบอย่างนั้น อย่างนี้

ดัง นั้น รูปแบบจึงเปลี่ยนไป ไม่เคยทำสิ่งใดนานจนยึดมั่นว่านี่คือรูปแบบ และผู้ทำงานทุกคน ก็มุ่งเน้นที่จะรักษาประโยชน์ตนเป็นหลัก คือมุ่งพิจารณาขันธ์ห้าเป็นหลัก เพื่อถอนจากการยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ห้า ว่าเป็นตัวตน ของตนนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น