กลุ่มประสานงานเพื่อการเตือนภัย (เขากะลา)

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บ้านลอยน้ำ ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ



แบบบ้านลอยน้ำ เพื่อประโยชน์แก่สาธารณะชน
ที่เดือดร้อนประสบปัญหาน้ำท่วมบ่อย

บ้านลอยน้ำ ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ รูปที่ 1


บ้านลอยน้ำ ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ รูปที่ 2บ้านลอยน้ำ ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ รูปที่ 3


27 กันยายน พ.ศ. 2550 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับ “บ้านลอยน้ำ” ได้ เล็งเห็นถึงความสำคัญของบ้านที่จะสามารถป้องกันภัยดังกล่าวได้ จึงได้เริ่มทำการศึกษาเพื่อการออกแบบ จากแหล่งต่างๆ ทั้งจากในและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บ้านท่าขนอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งยังมีบ้านลอยน้ำภูมิปัญญาชาวบ้าน ได้รับการอนุรักษ์ไว้ในพื้นที่


บ้านลอยน้ำ ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ รูปที่ 4




เมื่อ 27 กันยายน พ.ศ. 2550 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ เสด็จมายังกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อทรงเปิดพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุ วัดติวงศ์ เมื่อได้ทอดพระเนตรนิทรรศการแบบบ้านเพื่อประชาชนของกรมฯ แล้ว ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับ “บ้านลอยน้ำ”
จากภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ได้ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมากทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ประสบ ภัย กรมโยธาธิการและผังเมืองซึ่งมีภารกิจหลักประการหนึ่ง คือการให้บริการแบบบ้านเพื่อประชาชนที่มีอยู่อย่างหลากหลาย รูปแบบในระดับราคาต่างๆ กัน กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้ออกแบบบ้านหลังนี้ขึ้น โดยปรับใช้แนวคิดจาก “บ้านลอยน้ำท่าขนอน”และ เรือนแพของชาวบ้านในอดีต นำมาประยุกต์ ใช้กับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ซึ่งในฤดูแล้งตัวบ้านจะตั้งอยู่บนพื้นดินตามปกติ แต่เมื่อมีน้ำท่วมก็จะลอยขึ้นตามระดับน้ำได้ โดยจะมีการยึดตัวบ้านไว้กับเสาหลักทั้งสี่มุม เพื่อป้องกันการโคลงตัวหรือลอยไปตามกระแสน้ำ และเมื่อระดับน้ำลดลงตัวบ้านก็จะกลับมาตั้งอยู่บนพื้นดินตามเดิม

บ้านลอยน้ำ ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ รูปที่ 5


ขนาดของบ้านลอยน้ำที่ได้ออกแบบขึ้นนี้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของขนาดวัสดุสำเร็จรูปที่มีขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด เพื่อให้เป็นการใช้วัสดุที่คุ้มค่าที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้และทำการก่อสร้างได้ง่าย เนื่องจากมีระบบวิศวกรรมโครงสร้างเป็นรูปแบบอย่างง่าย ชาวบ้านที่มีความรู้ด้านช่างในระดับทั่วไปก็จะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ เอง
บ้านหลังนี้มีขนาดพื้นที่รวม ประมาณ 60 ตารางเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่ใหญ่มาก เพื่อความสะดวกในการก่อสร้างและการลอยน้ำ แต่หากมีความต้องการพื้นที่เพิ่มขึ้น ก็อาจเชื่อมต่อหลายหลังเข้าด้วยกัน โดยใช้สะพานทางเชื่อม พาดระหว่างชานรอบตัวบ้าน

สำหรับราคาค่าก่อสร้างประมาณการได้ว่า กรณีดำเนินการก่อสร้างเองจะมีราคาประมาณหลังละ 719,000 บาท หากจ้างเหมาราคาประมาณหลังละ 915,000 บาท เนื่องจากต้องมีการคิดค่าดำเนินการ กำไรและภาษีด้วย
แบบบ้านลอย น้ำของกรมโยธาธิการและผังเมืองนี้ น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้องอยู่ อาศัยในพื้นที่ที่อาจต้องประสบภัยน้ำท่วมตามฤดูกาลได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้อยู่อาศัยในบริเวณเที่เป็นที่ลุ่ม โดยอาจปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบและพื้นที่ใช้สอย ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องตามความต้องการที่แท้จริงของตนเองต่อไป

บ้านลอยน้ำ ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ รูปที่ 6 บ้านลอยน้ำ ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ รูปที่ 7

บ้านลอยน้ำ ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ รูปที่ 8


สนใจสอบถามไปได้ที่ 0-2299-4471-72, 0-2299-4858, 0-2299-4877
หรือเข้าชมรายละเอียดที่เว็บไซท์ของกรมโยธาธิการและผังเมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น