กลุ่มประสานงานเพื่อการเตือนภัย (เขากะลา)

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ระบบ/ทำงานเหมือนไม่ได้ทำ

การทำงานกับระบบ คือการทำงานตามสถานการณ์ที่ระบบเป็นผู้วางไว้ โดยที่เราไม่ได้เป็นผู้ทำ เป็นผู้คิด เป็นผู้วางโปรเจ็คใด ๆ

เพราะถึงอยากจะทำ ก็ทำไม่ได้

แต่ระบบจะต้องเป็นผู้ทำเอง เป็นผู้จัดวาง เป็นผู้จัดหา เป็นผู้จัดเตรียมสถานการณ์ต่าง ๆ ไว้เอง

แล้วผลักดัน ให้ทุกอย่างเป็นไปตามกลไกของการจัดวาง เรียกได้ว่า คอนโทรลเป็นวินาทีต่อวินาทีเลยทีเดียว

ทุกอย่างจะต้องตรงตามที่ระบบต้องการ จนเห็นว่าทุกอย่างมันช่างบังเอิญบ่อยเหลือเกิน บังเอิญเหมือนจงใจ เหมือนเล่นละคร เหมือนมีใครจัดฉากไว้ แล้วต้องบังเอิญเจอกันในฉากนั้น

แต่เปล่าเลย ทุกอย่างระบบได้วางแนวทางไว้หมดแล้ว แค่เพียงตัวละครแต่ละตัวละคร จะมาเข้าฉากเท่านั้น ถูกต้องตรงตามเวลา พอดีทุกจังหวะเหมือนบังเอิญ

แต่ถ้าเราดูละคร เราจะรู้ว่า พระเอก นางเอก มาเจอกันไม่ใช่บังเอิญที่มาเจอกัน แต่เรารู้ว่า เขาต้องมาเจอกันตามเนื้อเรื่อง ตามฉากที่ผู้กำกับเขาวางไว้ แม้ว่าพระเอกนางเอก จะทำเป็นเหมือนตกใจ ที่เจอกันโดยบังเอิญก็ตาม

ผู้แสดงเป็นพระเอก จะรู้ว่า ไม่ได้เจอกันโดยบังเอิญหรอก แต่ผู้กำกับบอกให้เข้าฉากไปยืนตรงนี้นะ เดี๋ยวนางเอกจะออกมาจากร้านหนังสือ แล้วก็เจอกัน

เจอกันแล้ว บังเอิญพ่อนางเอกมาธุระแถวนั้นเห็นพอดี มาเห็นสองคนพบกัน เลยทำร้ายพระเอก

นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แม้นักแสดงในเรื่องจะทำเหมือนเป็นการบังเอิญเหลือเกิน

แต่นักแสดงแต่ละคนที่เข้าฉาก จะรู้ว่า มาเข้าฉากแบบเล่นบทบังเอิญเจอกัน

การแสดงของระบบก็เช่นกัน ทุกอย่างถูกจัดวางเพื่อให้งานของระบบดำเนินไปได้ เพื่อการประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพ

เพียงแต่ว่า นักแสดงแต่ละคนที่มาเข้าฉากให้กับระบบ ส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัวว่ากำลังมาแสดงอยู่ มาเข้าฉากอยู่ แม้จะไม่รู้ ไม่เข้าใจ แต่ก็เล่นตามบทได้อย่างถูกต้องตามที่ระบบวางไว้

ดังนั้น ผู้ที่ทำงานกับระบบ แบบรู้โครงสร้าง รู้การจัดวาง รู้กลไกของระบบ ก็จะวางใจในระบบ
จะจัดฉากอย่างไร ต้องไปเข้าฉากตอนไหน ระบบต้องเป็นผู้จัดวาง แล้วพาผู้แสดงไปเข้าฉากนั้น

เรียกว่า จัดสถานการณ์มาให้ แล้วพาไปเข้าฉากตามสถานการณ์นั้น หรือ สถานการณ์พาไป นั่นเอง

เมื่อรู้แล้วจะต้องไปลุ้น ไปเอาใจช่วยทำไม เพราะฉากต่อไปเขาก็วางไว้แล้วเช่นกัน

ผู้ทำงาน จึงมีหน้าที่อย่างเดียวคือ ทำประโยชน์ตน คือดูว่าแต่ละวินาที ความคิดจะทำอะไร ความรู้สึกเป็นอย่างไร พอใจ ไม่พอใจ ฟุ้งซ่าน หรือสงบ กระทบกระทั่งสถานการณ์ต่าง ๆ แล้วเกิดอาการอย่างไรในกลไกของขันธ์ห้า

ตามเห็น ตามดู ตามรู้ให้เท่าทันในอารมณ์ ขณะที่มันต้องไปทำงาน ไปเข้าฉากแต่ละฉากตามที่ระบบวางไว้

พอใจ ไม่พอใจ ในการเข้าฉากนั้น ๆ ไม่ต้องไปดูการแสดง ให้ดูแค่ขันธ์ห้าเท่านั้น ให้รู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น ณ ขณะเข้าฉากนั้น ๆ

รู้ เข้าใจ แล้วปล่อยวาง

การตามรู้ ตามดูอารมณ์เหล่านั้น โดยไม่เข้าไปแทรกแซง เข้าไปบังคับบัญชาให้มันเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ไม่ไปยึดว่าอารมณ์เหล่านั้นเป็นตัวเรา ของเรา ดูให้เห็นว่ามันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหละ เป็นไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ แล้วมันก็ปรุงแต่งความคิด ปรุงไปทางใดแล้วมันก็เกิดอารมณ์ไปทางนั้น เป็นเรื่องธรรมดาของขันธ์ห้า

เมื่อเห็น เมื่อรู้เท่าทัน มันจะปรุงอะไร ปรุงสุข ปรุงทุกข์ ก็เรื่องของมัน ไมมีใครไปรับ ไปยึด ไปเกาะอารมณ์เหล่านั้น

คือเมื่อไม่มีใครเป็นผู้อุปาทานสุข อุปาทานทุกข์ ก็จะไม่มีตัวใคร เป็นผู้สุข ผู้ทุกข์

นั่นคือความว่าง ว่างจากความเป็นตัวตน ของตนนั่นเอง

นี่เป็นการวางโครงการของระบบ ที่จะต้องจัดวางทุกขั้นตอน ทุกแง่ทุกมุม ของผู้ที่ขันอาสาลงมาในโครงการนี้ 5,000 คนทั่วโลก

แต่ละคนก็เล่นแต่ละบทบาทแตกต่างกันไป แต่มันเป็นเรื่องเดียวกัน เรื่องของ การเตรียมการเพื่อช่วยเหลือภัยพิบัติบนโลกใบนี้

ดังนั้น ผู้อาสามาทำงานนี้ ก็จะทำแค่ประโยชน์ตน คือเรียนรู้ขันธ์ห้าตามความเป็นจริง มีสติรู้เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และรู้เท่าทันอุปาทานขันธ์ห้า ตลอดเวลา

นี่คือสิ่งเดียวที่เกี่ยวเนื่องกับเรา และต้องทำอย่างต่อเนื่อง เรียกว่า "ประโยชน์ตน" นั่นคือ การเรียนรู้การละวางจากอุปาทานขันธ์ห้า เรียนรู้วิชชาการละอัตตาตัวตน เพื่อหลุดพ้นจากอุปาทานทั้งปวง

นอกนั้น ระบบจัดวาง จัดสถานการณ์ จัดหาสถานที่ จัดหาบุคคล จัดหาสถานการณ์เข้ามาเอง แล้วกลุ่มผู้อาสาในโครงการ ก็ไปประสานงานตามฉากที่ระบบได้วางไว้ เรียกว่า"ประโยชน์ท่าน" อันนี้ระบบต้องรับผิดชอบเอง

ผู้ประสานงานให้กับระบบจึง......ทำงานกับระบบเหมือนคำของระบบที่ว่า

ทำงานเหมือนไม่ได้ทำ

ไปทำงานเหมือนไปเที่ยว

กลุ่มประสานงานเพื่อการเตือนภัย(เขากะลา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น