กลุ่มประสานงานเพื่อการเตือนภัย (เขากะลา)

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

GLIESE 581 / OUR NEXT PLANET


นักดารา ศาสตร์ประกาศว่าค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ที่อาจมีลักษณะคล้ายโลกมากที่ สุดเท่าที่เคยเจอมา โดยมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต
เหล่านักดาราศาสตร์ แถลงข่าวที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในเมืองซานตาครูส เมื่อ 30 ก.ย. 2010 ว่า ดาวดวงนี้มีที่ตั้งอยู่ใจกลางเขตที่เรียกกันว่าเขตมีชีวิตหรือ โกลดิล็อคโซน ซึ่งไม่เหมือนกับดาวเคราะห์อีกเกือบ 500 ดวงที่นักดาราศาสตร์ค้นพบนอกระบบสุริยะจักรวาลของโลก
ดาวเคราะห์ดวงนี้ อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากดาวฤกษ์ ซึ่งเป็นดาวแม่ของมัน และอาจจะมีน้ำในสถานะที่เป็นของเหลวด้วย นอกจากนั้น ตัวดาวเองก็ไม่ใหญ่ไม่เล็กจนเกินไป ซึ่งจะมีผลต่อเรื่องของพื้นผิว แรงโน้มถ่วง และชั้นบรรยากาศของดาว

นายอาร์. พอล บัตเลอร์ จากสถานบันคาร์เนอกี้ กรุงวอชิงตัน หนึ่งในผู้ร่วมค้นพบดาวดวงนี้บอกว่า ก่อนหน้านี้เราพบดาวเคราะห์มากมาย แต่ส่วนมากถ้าไม่อยู่ในเขตที่หนาวเกินไป ก็อยู่ในเขตที่ร้อนเกินไปเมื่อวัดระยะห่างจากดาวแม่ แต่ในที่สุดเราก็เจอดาวที่อยู่ในระดับกึ่งกลางพอดี แต่ก็ยังคงมีคำถามมากมายเกี่ยวกับดาวประหลาดดวงนี้ ที่มีมวลมากกว่าโลกราว 3 เท่า มันมีความกว้างกว่าโลกเล็กน้อย แต่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ของมันมากกว่าโลก โดยมันอยู่ใกล้เพียง 22.5 ล้านกิโลเมตร ขณะที่โลกอยู่ห่างถึง 150 ล้านกิโลเมตร ทำให้มันโคจรรอบดาวแม่ในเวลาแค่ 37 วัน นอกจากนั้นมันก็ไม่ค่อยหมุนรอบตัวเองมากนัก เพราะด้านหนึ่งมักจะสว่างอยู่เสมอ สำหรับอุณหภูมิพื้นผิวก็อาจจะสูงถึง 71 องศาเซลเซียส หรือเย็นถึงลบ 4 องศาเซลเซียส แต่บริเวณระหว่างกึ่งกลางของทั้งสองโซน อาจจะมีสภาพอากาศสบายๆ ได้

ดาวดวงนี้โคจรรอบดาวแม่ที่ชื่อ กลีซ 581 จึงมีชื่อว่า กลิซ 581 จี มันอยู่ห่างจากโลกเราถึง 195 ล้านล้านกิโลเมตร (ประมาณ 20 ปีแสง) ซึ่งแม้จะดูเหมือนว่าไกล แต่หากเทียบกับขนาดของจักรวาล ก็ถือได้ว่ามันอยู่ใกล้โลกมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น