ดัง นั้น ต่อให้ปุถุชนมากมาย แม้อายุมาก สูงวัย แต่มีความโลก โกรธ หลง ยึดมั่นถือมั่นมากมาย นั่นคือ เป็นได้แค่เด็กชายในกฎของธรรมชาติเท่านั้น คือมีความคิด ความต้องการเหมือนเด็ก ๆ ทั่ว ๆ ไป พอใจก็ยิ้ม เสียใจก็ร้องไห้ อยากได้ก็ขนขวาย แย่งชิง ตะเกียกตะกายหามา ได้สิ่งนี้แล้วพอใจ อยากได้สิ่งใหม่อีก ได้มาแล้วพอใจก็สุข ไม่ได้ดังใจก็ทุกข์ แล้วก็อยากได้สิ่งใหม่อีก จึงวนเป็นวงกลมอยู่อย่างนี้ ทะยานอยากร่ำไป อยากได้สิ่งใหม่ ๆ โดยไม่รู้จักพอ
ความพอใจ กับความพอดี มันต่างกันมาก
ความ พอใจ ย่อมไม่มีวันเต็ม มีรถ 1 คัน ก็พอใจ มีสุขได้ในวันก่อน แต่พอมีเงินเพิ่มเริ่มไม่พอใจ ต้องมีอีกคัน คันที่ 2 คันที่ 3 คันที่4 หรือ คันที่ 5 แล้วแต่ความพอใจว่าเมื่อไรมันจะหยุด จะพอ แล้วก็หวงไว้เพื่อใช้คนเดียว บ้านอีกนับหลังไม่ถ้วน ที่ดินมากมาย นี่คือความพอใจ
ถามว่า เมื่อไรจะพอจากความทะยานอยากเหล่านี้
หาก ยังมีอวิชชา มีตัณหา มีอุปาทาน ว่าขันธ์ห้านี้เป็นตัวเรา ของเหล่านี้ก็จะต้องเป็นของเรา มีเพื่อสนองความต้องการให้กับตัวเรา นั่นเอง
รากเหง้าแท้จริง ก็คืออวิชชา เห็นผิดแต่แรกว่ามีตัวเรา จึงต้องสะสมไว้ให้อุปาทานที่ยึดมั่นในความเป็นเราอย่างเหนียวแน่นนั้น มันได้มี ได้สะสม ได้ใช้
ยิ่งมี ก็ยิ่งทุกข์ เพราะสิ่งที่เคยพอใจ มันไม่เหลือแล้วในรถคันแรก จึงต้องไปหาความพอใจใหม่เรื่อย ๆ
เมื่อไหร่จะหยุดทะยานอยากเสียที...
เมื่อ คุณเห็นธรรมะ หรือเห็นความเป็นจริงของธรรมชาติ ว่ามันไม่ได้มีแก่นสาร วนเวียนว่ายอยู่ในกองเพลิงด้วยการถูกผลักดันของตัณหา และอุปาทาน ที่หลงผิดไปในความมีอวิชชานั่นแหละ ถ้าเห็นจริงได้ ปฏิบัติตามได้ เห็นผลของความเบาบางจากทุกข์ เพราะละการยึดมั่นถือมั่นได้
นั่นแหละ จึงจะหยุดกลไกของอุปาทานเหล่านี้
ดังนั้น การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง.....
จึง เป็นเรื่องจริง เพราะหากเขารู้ เขาเข้าใจ เขาก็จะสามารถเปลี่ยนจากผู้ที่สะสม ผู้ที่จมอยู่ในกองทุกข์ ด้วยการเวียนเกิด เวียนตาย เกิดปัญญาก้าวพ้นออกมาจากกองเพลิงเหล่านั้นได้นั้นเอง.
กลุ่มประสานงานเพื่อการเตือนภัย(เขากะลา) Team.
- -" สุดยอด
ตอบลบ